สภาพเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจ
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย มีดังนี้
- การเพาะปลูกในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย มีการเพาะปลูกพืชทีสำคัญคือการเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกข้าวมากกว่าพืชชนิดอื่น พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะสำหรับกับการเพาะ ปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผลไม้และพืชผักด้วย เช่นฟักทอง อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น
6.2 การประมง
(ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีการประมง)
6.3 การปศุศัตว์
การปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการจำหน่าย เช่น
โค กระบือ สุกร ไก่ เป็ด
6.4 การบริการ
สถานประกอบการด้านบริการ
- สถานที่จำหน่วยอาหาร ตาม พ.ร.บ. สาธารณสุข 10 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย เป็นตำบลที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ แต่มีทรัพยากร ธรรมชาติป่าไม้ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ที่สาธารณะก็ยังเป็นป่ารก ยังไม่ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในตำบล จึงทำให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในภาพรวมขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยไม่ค่อยเติบโตเท่าที่ควร
6.6 อุตสาหกรรม
การประกอบการอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
สถานประกอบการด้านพานิชยกรรม
- สถานีบริการน้ำมัน 1 แห่ง
- สถานที่ประกอบการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 12 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 2 กลุ่ม
1. กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพบ้านหนองบอน
2. กลุ่มแม่บ้านหนองบอน
3. กลุ่มปลูกผักบ้านไร่ไถ
6.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละแล้วสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
7. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน
ตำบลท่าโพธิ์ชัย เป็นที่ราบลุ่ม ส่วนด้านทิศเหนือเป็นที่ราบสูง ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ธรรมชาติป่าไม้ มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ที่สาธารณะก็ยังเป็นป่ารก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยมีแหล่งน้ำที่ทางกรมชลประทาน ขุดลอก จำนวน 4 แห่ง และทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย ร่วมกับหน่วยงานอื่นทำการขุดลอกอีกหลายแห่ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการขุดเพื่อให้ประชาชนใช้สำหรับทำการเกษตร
-แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 10 แห่ง
-แหล่งน้ำตามธรรมชาติ จำนวน 8 แห่ง
-แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น จำนวน 22 แห่ง ประกอบด้วย
* บ่อบาดาล จำนวน 13 แห่ง
* บ่อน้ำตื้น จำนวน 4 แห่ง
* ถังเก็บน้ำฝน (คสล.) จำนวน 5 แห่ง
ข้อมูลด้านการเกษตรแต่ละหมู่บ้าน
8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
8.1 การนับถือศาสนา
- ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98
วัด 2 แห่ง
สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
8.2 ประเพณีและงานประจำปี
ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนกับประเพณีท้องถิ่นอื่น ๆ ดังนี้
ประเพณีสงกรานต์ วันที่ 13 -15 เมษายน ของทุกปี รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
ประเพณีเข้าพรรษา วันเข้าพรรษาของทุกปี จัดประกวดต้นเทียน และขบวนแห่เทียนพรรษา
ประเพณีลอยกระทง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จัดงานประเพณีลอยกระทง
ประกวดขบวนแห่นางนพมาศ ประกวดนางนพมาศ ประกวดกระทง
ประเพณีขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม จัดงานทำบุญตักบาตรร่วมกัน
8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ
ภาษาถิ่น ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัย มีภาษาท้องถิ่นหลากหลายที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน ภาษาถิ่นไทยนางรอง (ไทยเดิ้ง) ซึ่งมีสำเนียงคล้ายภาษาไทยโคราช นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นไทยอีสาน เขมร ส่วย ปนอยู่บ้างเล็กน้อย
8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
ส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร และปุ๋ย
9. ทรัพยากรธรรมชาติ
9.1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากคลองเล็กๆ สระ และน้ำจากใต้ดินที่นำมาผลิตน้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้
9.2 ป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีพื้นที่ ป่าชุมชน และป่าในพื้นที่สาธารณะ
9.3 ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีภูเขา
9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ
ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ชัยส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่บางส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ อากาศที่ไม่มีมลพิษ น้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน เอกชน ปัญหาด้านขยะ เมื่อความเจริญเกิดขึ้นขยะก็มากขึ้น การแก้ไขปัญหา องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชน เช่น โครงการจัดหาถังขยะรองรับขยะให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของเมืองให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ